วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของจักรยานBMX

 ชิ้นส่วนต่างๆของ BMX
ทำความรู้จักชิ้นส่วนต่างๆของจักรยาน BMX
Axle (แกนล้อ)
แกน ล้อBMX จะมีด้วยกัน 2 ขนาด ได้แก่ แกนล้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 3/8 นิ้ว ที่เรียกกันทั่วไปว่า แกนเล็ก และอีกขนาด คือ แกนล้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 14 มิลลิเมตร ที่เรียกกันทั่วไปว่า แกนใหญ่ การเลือกล้อจะใช้แกนแบบไหนนั้นก็ต้องดูก่อนว่า เราจะเอาไปใช้ขี่BMXแบบไหน ถ้าเอาไปขี่BMXที่ต้องกระโดด แกนล้อต้องรับแรงกระแทก ก็ควรที่จะใช้แกนใหญ่ ถ้าหากใช้แกนเล็ก แกนล้ออาจจะงอได้
Bar Ends (ปิดปลายแฮนด์)
(ปิดปลายแฮนด์) จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่เป็นลักษณะหมุด และแบบที่เป็นฝาปิด
Bar or Handle Bar (แฮนด์)
ขนาด ของแฮนด์ BMX จะใช้ขนาด 7/8 นิ้ว สูง 6 – 7 นิ้วโดยประมาณ ส่วนความกว้างนั้น แล้วแต่ผู้ใช้จะตัดเอง ส่วนใหญ่ความยาวของแฮนด์ก็จะกว้างกว่าหัวไหล่ของผู้ขี่เล็กน้อย ส่วนรูปทรงก็จะจำแนกไปตามประเภทที่จะขี่ หากเป็นของแฟลตแลนด์รูปทรงก็จะแคบๆเว้าๆ เพื่อให้ง่ายและสะดวกกับการเล่นท่า หากเป็นของสตรีต รูปทรงก็จะธรรมดา ความกว้างของแฮนด์ก็จะกว้างกว่าของแฟลตแลนด์เล็กน้อย
Bearing (ลูกปืน)
ลกปืนจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
1. ลูกปืนเม็ด เป็นลูกปืนแบบธรรมดา ราคาถูก นำหนักเบา อายุการใช้งานสั้นกว่าแบบแบริ่ง
2. ลูกปืนแบบตลับ หรือเรียกว่าแบบแบริ่ง ราคาสูงกว่าแบบแรก แต่ทนทานกว่าเป็นที่นิยม ใช้กันมาก ใช้กับทุกส่วนที่ใช้ลูกปืน แต่อยู่ดีๆจะเอามาเปลี่ยนแทนลูกปืนเม็ดไม่ได้ เพราะอะไหล่ที่ใช้กับตลับแบริ่งจะออกแบบมาใช้กับตลับแบริ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ดุม ถ้วยคอ ถ้วยกะโหลก บันได โรเตอร์
Bottom Bracket (ชุดถ้วยลูกปืนกะโหลก)
ชุด ถ้วยลูกปืน จะมีทั้งแบบที่ใช้ลูกปืนเม็ดที่ใช้กับขาจานเลื้อยและแบบที่ใช้ตลับแบริ่ง กะโหลกจะมีด้วยกัน 4 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะใช้เฉพาะกับกะโหลกของเฟรมนั้นๆ ได้แก่
1. American BB เป็นขนาดต้นตำหรับของชุดกะโหลก ซึ่งจะมีแบริ่งอยู่ในถ้วย แล้วใส่เอาไปในกะโหลกอีกที American BB จะมีขนาดใหญ่ ทนทาน แต่จะมีน้ำหนักมากกว่าแบบอื่น
2. European BB เป็นชุดถ้วยลูกปืนที่มีขนาดเล็ก จะมีแบริ่งอยู่ในถ้วยที่ด้านนอกของถ้วยจะมีเกลียวไว้ไขยึดกับเฟรม ซึ่งที่เฟรมก็จะมีเกลียวเช่นกัน
3. Mid BB เป็นกะโหลกแบบที่ไม่ต้องใช้ถ้วย แต่สามารถใส่ตลับแบริ่งเข้าไปในกะโหลกของเฟรมได้เลย Mid BB จะมีขนาดใหญ่เท่ากับของ American BB
4. Spanish BB เป็นกะโหลกแบบที่ไม่ต้องใช้ถ้วย แต่สามารถใส่ตลับแบริ่งเข้าไปในกะโหลกของเฟรมได้เลย Spanish BB จะมีขนาดใหญ่เท่ากับของ European BB
Brake Lever (มือเบรก)
มือ เบรก มีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ แบบธรรมดา จะตรงๆ และ แบบงอ ใช้ใส่ตรงตำแหน่งส่วนที่โค้งของแฮนด์ มือเบรกแบบนี้สามารถเอามือเบรกแบบแรกมางอเองก็ได้ แต่ต้องระวังอาจจะหักได้
Brake (เบรก)
เบรก BMX ในปัจจุบันจะใช้เบรกที่มีลักษณะในรูป ที่เรียกว่า U-Brake ซึ่งจะมีหมุดสำหรับยึดอยู่ทั้งสองด้าน ซึ่งถ้าเป็นเบรกรถจักรยานทั่วไปจะมีหมุดยึดเพียงอันเดียว และยังมีอีกแบบคือ V – Brake เป็นเบรกที่มีลักษณะเดียวที่ใช้กับ เมาเทนไบค์ และโครง BMX RACING ตำแหน่งของการใส่เบรกจะไม่เหมือนกับ U-Brake จึงไม่สามารถมาใช้แทนกันได้
Chain (โซ่)
โซ่ BMX จะมีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบธรรมดาที่ใช้กับจักรยานทั่วไป และอีกแบบคือ Half Link เป็นโซ่ที่มีลักษณะของข้อต่อเพียงชิ้นเดียวต่อกัน โดยทั่วไปแล้วใน 1 ช่วงของโซ่จะมีข้อต่อ2ตัว แต่ของ Half Link จะมีข้อต่อชิ้นเดียว เพื่อให้สะดวกในการตั้งระยะของล้อ
Cranks (ขาจาน)
ขาจาน BMX มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. ขาจานเลื้อย เป็นขาจานแบบธรรมดา ที่ใช้กับ BMX ทั่วไป
2. ขาจานดูดแบบ 2 ชิ้น เป็นขาจานที่แยกเป็น 2 ชิ้น ซึ่งจะใส่สวมเข้าด้วยกัน ขาจานแบบนี้ในบ้านเราไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก
3. ขาจานดูดแบบ 3 ชิ้น เป็นขาจานที่แยกเป็นสามชิ้น คือ ขาจานด้านซ้าย ขวา และแกน ขาจานแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากเพราะมีความทนทาน น้ำหนักเบาสะดวกในการประกอบใช้งาน
Forks (ตะเกียบจักรยาน)
ตะเกียบจักรยาน BMX มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ
1. ตะเกียบที่ใช้กับ BMX FLADLAND ตรงตำแหน่งที่ใส่แกนล้อจะใกล้กับหรือตรงกับแกนกลางของตะเกียบ เพื่อให้หมุนล้อหน้าได้สะดวก จะมีแกนใส่เบรกแบบ U Brake ยื่นออกมา (Mount)
2. ตะเกียบที่ใช้กับ BMX STREET ตรงตำแหน่งที่ใส่แกนล้อจะยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อเพิ่มระยะของช่วงรถออกไป ตะเกียบ BMX STREET ในปัจจุบันจะไม่นิยมมีแกนสำหรับใส่เบรกหรือไม่ต้องใช้เบรกหน้านั้นเอง เพราะ BMX STREET นิยมใช้กันเพียงแค่เบรกหลังเท่านั้น
3. ตะเกียบที่ใช้กับ BMX RACING ตะเกียบจะมีรูปทรงแตกต่างออกไปจาก 2 ประเภท และมีน้ำหนักเบากว่า
ขนาด ตะเกียบในปัจจุบันจะใช้กับถ้วยคอที่มีขนาด 1 1/8 นิ้ว ซึ่งถ้าเป็นรุ่นเก่าหรือจักรยาน BMX ทั่วไป จะมีขนาด 1 นิ้ว แล้วที่หัวของตะเกียบจะมีน๊อต สำหรับไว้ไขให้คอ ตะเกียบ กับ ชุดถ้วยคอ ยึดแน่นเข้าด้วยกัน จะมีแบบเกลียวนอก และใน สำหรับตะเกียบที่ไม่มีเกลียวเลย ก็ต้องใช้สตาร์นัตแทน
Frame (โครงจักรยาน)
เฟรม BMX จะแบ่งตามประเภทที่ขี่
1. เฟรมแบบ BMX STREET ใช้ขี่ประเภทสตรีต เดิร์ตและ เวิร์ต ทำจาก โครโมลี่ และ ไทเทเนียม รูปทรงจะเรียบๆง่ายๆ ความยาว Top Tube (ความยาวท่อด้านบนของเฟรม) จะยาวตั้งแต่ 19.5 - 21 นิ้ว
2. เฟรมแบบ BMX FLATLAND จะทำจาก โครโมลี่อลูมิเนียม และไทเทเนียม รูปทรงจะดูแปลกๆ ท่อส่วนล่างของเฟรมส่วนใหญ่มักจะเว้าโค้งเพื่อหลบขาเพื่อความสะดวกเวลาเล่น ท่าล้อหน้า แต่ก็มีตัวถังแฟลตแลนด์บางตัวที่ไม่หลบขาก็มีขนาด Top Tube จะยาว 18.5 - 19 นิ้ว
3. เฟรมแบบ BMX RACING ทำจากอลูมิเนียม ขนาดตัวถังจะมากกว่าหรือเท่ากับประเภทสตรีตเล็กน้อย รูปทรงจะออกมาเพื่อใช้สำหรับขี่แบบใช้ความเร็วโดยเฉพาะ
Grips (ปลอกแฮนด์)
ปลอก แฮนด์ จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่มีปีกกันมือตรงปลาย และแบบไม่มีปีก ปัจจุบันจะนิยมใช้แบบไม่มีปีกกันมือ เนื้อยางของปลอกแฮนด์จะมีความหนึบกว่าปลอกแฮนด์จักรยานทั่วไป ปลอกแฮนด์จะมีหลายขนาดหลายสีสัน สามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบใจ
รูปภาพ Grip Stop (ตัวกันปลอกแฮนด์)
หากไม่ได้ใส่มือเบรก ก็จะใส่ตัวกันปลอกแฮนด์ จะช่วยไม่ให้ปลอกแฮนด์ลื่นไหล และป้องกันปลอกแฮนด์ฉีกขาด เมื่อรถล้มแล้วแฮนด์ไถลกับพื้น
Gyro (ไกย์โร หรือ โรเตอร์ )
โรเตอร์ เป็นตัวช่วยไม่ให้สายเบรกหลังพันกัน เมื่อเวลาหมุนแฮนด์ตัวโรเตอร์จะมีกลไกลที่ทำให้สายเบรกไม่พันกัน เหมาะกับคนที่ใช้เบรกหลังและต้องเล่นท่าที่หมุนแฮนด์
Headset (ชุดถ้วยคอ)
ชุดถ้วยคอ จะใช้ขนาด 1 1/8 นิ้ว มีด้วยกัน 3 แบบคือ
1. ชุดถ้วยคอแบบลูกปืนเม็ด เป็นแบบธรรมดา จะใช้ลูกปืนเป็นแบบเม็ด ราคาจะถูกว่าแบบแบริ่ง
2. ชุดถ้วยคอแบบแบริ่ง จะใช้ลูกปืนที่มีลักษณะที่เป็นตลับลูกปืนที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า แบริ่ง ดีกว่าแบบแรก ทนทานกว่าราคาก็จะสูงกว่า
3. ชุดถ้วยคอฝัง (Hidden) ชุดถ้วยคอแบบนี้จะใช้เฉพาะตัวถังบางรุ่นที่ออกแบบมาให้ใช้ชุดถ้วยคอแบบนี้ โดยเฉพาะ คือ ชุดคอจะอยู่ด้านในของคอของตัวถังจึงไม่จำเป็นต้องใช้ถ้วยของลูกปืน ทำให้สามารถลดน้ำหนักของรถลงได้
Hubs (ดุมล้อ)
ดุม ล้อ จะมีทั้งแบบที่ใช้ลูกปืนแบริ่งและแบบที่ใช้ลูกปืนเม็ดธรรมดา ดุมล้อที่นิยมใช้มีด้วยกัน 2 ขนาดคือ ดุมที่ใช้ซี่ลวด 36 ซี่ กับดุมที่ใช้ซี่ลวด 48 ซี่ ดุมล้อหลังจะออกแบบตามประเภทของการใช้งานของแต่ละประเภทของการขี่ ส่วนดุมหน้าสามารถใช้ได้ทุกประเภท
1. ดุมหลังแบบ Cassette คือจะมีชุดตลับฟรีในตัว ทำให้มีความทนทาน แล้วยังสามารถเปลี่ยนฟันเฟืองได้ด้วย เป็นดุมล้อที่ใช้สำหรับประเภทสตรีต
2. ดุมหลังฟรีคอสเตอร์ จะมีฟรีในตัวเช่นเดียวกับแบบเคสเสท แต่จะมีกลไกที่ทำให้เมื่อถอยหลังตัวเฟืองจะอยู่นิ่งๆ ทำให้ขาจานไม่หมุนตาม เหมาะสำหรับแฟลตแลนด์
3. ดุมหลังแบบ Flip/flop เป็นดุมธรรมดาทั่วไปที่ต้องใช้ตลับฟรี มีทั้งแบบลูกปืนธรรมดาและแบริ่ง ส่วนตลับฟรีก็จำนวนฟันเฟือง 16 ,14 และ 13 ฟัน หากต้องการจำนวนฟันเฟืองน้อยกว่านี้ ก็ต้องใช้ดุมแบบเคสเสท
Pedals (บันไดจักรยาน)
บันได จะมีแกนอยู่ 2 ขนาด คือ 1/2 นิ้วเรียกทั่วไปว่า แกนเล็ก และ 9/16 นิ้ว เป็นแกนใหญ่ แกนเล็กสำหรับขาจานเลื้อย ส่วนแกนใหญ่จะใส่กับขาจาน 3 ชิ้น แต่ก็มีขาจานเลื้อยที่สามารถใส่แกนใหญ่ได้เช่นกัน แกนบันไดจะทำจากโครโมลี่และไทเทเนียม ส่วนตัวบันไดทำจาก พลาสติก อลูมิเนียม และ แมกนีเซียม บันไดจะมีทั้งใช้ลูกปืนเม็ดและแบริ่ง
Pegs (ที่พักเท้า)
ที่พักเท้าจะมี 2 ประเภท คือแบบที่ใช้กับประเภทสตรีตและแบบแฟลตแลนด์
1. ที่พักเท้าแบบสตรีต จะมีลักษณะผิวเกลี้ยง ไว้สำหรับไถลบนราวเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/4 - 1 1/2 นิ้ว ยาวประมาณ 4 นิ้ว ทำจากโครโมลี่ และไทเทเนียม
2. ที่พักเท้าแบบแฟลตแลนด์ จะมีผิวหยาบเอาไว้สำหรับเหยียบเพื่อเล่นท่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 - 2 นิ้ว ยาวประมาณ 4 นิ้ว ทำจากอลูมิเนียม
Rim (ขอบล้อ)
ขอบ ล้อ มีด้วยกัน 3 แบบ คือ 1 ชั้น 2 ชั้นและ3ชั้น ขนาดของขอบล้อ 20 x 1.75 นิ้ว ทำจากอลูมิเนียม เคลือบผิวด้วย อโนได และ โครเมียม สำหรับการเลือกใช้ขอบล้อนั้นถ้าหากล้อนั้นต้องใช้เบรกก็ต้องใช้ขอบล้อที่ เคลือบผิวสีมันวาว เช่น ฮาร์ด อโนได และโครเมียม ส่วนล้อที่ไม่ได้ใช้เบรคก็สามารถเลือกใช้ขอบล้อได้ตามชอบใจ
Seat Clamp (ตัวลัดหลักอาน)
ตัวลัดหลักอาน จะมีขนาด 25.4 นิ้ว ทำจากอลูมิเนียม และไทเทเนียม ใช้สำหรับล็อกหลักอานให้ยึดติดกับเฟรมจักรยาน
Seat Post (หลักอาน)
หลัก อานหลักอาน จะมี3 แบบคือ 1.แบบมีปะกับล็อกในตัว 2.แบบที่ใช้ล๊อกกับหลักอานโดยตรง และ แบบไม่มีปะกับล็อก หลักอานที่ใช้กันจะมีขนาด 25.4 มม. ส่วนของเรสซิ่งจะมี ขนาดใหญ่กว่า หลักอานทำจาก อลูมิเนียม คาบอน โครโมลี่ และไทเทเนียม
Seat (อาน)
อาน มีด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. แบบ BMX FLATLAND จะเป็นอานที่เป็นพลาสติกทั้งอัน และ แบบที่มีฟองน้ำหุ้มตรงกลาง รูปทรงจะเล็กๆกระทัดลัด ตรงส่วนท้ายของอานจะมีที่ไว้สำหรับจับ
2. แบบ BMX STREET จะเป็นอานที่หุ้มด้วยฟองน้ำทั้งอันเพื่อให้นั้งสบายและลดแรงกระแทก ขนาดจะไม่ยาวมากและส่วนท้ายของอานจะไม่มีที่จับ
3. แบบ BMX RACING จะเป็นอานที่หุ้มด้วยฟองน้ำทั้งอันเพื่อให้นั้งสบายและลดแรงกระแทก ขนาดจะยาวกว่าทั้งสองแบบ
Spokes (ซี่ลวด)
ซี่ลวด ใช้สำหรับขึ้นล้อ ทำจากสเตนเลส ส่วนความยาวของซี่ลวดก็จะต่างกันไปตามขนาดความกว้างของดุมที่ใช้และรูปแบบการขึ้นซี่ลวด
การ ขึ้นซี่ลวดก็จะมี 2 แบบ คือแบบไขว่และแบบตรง โดยแบบไขว่จะรับแรงได้ดีกว่าแบบตรงแต่ซี่ลวดก็จะยาวกว่าทำให้น้ำหนักมากกว่า การขึ้นซี่ลวดแบบตรง การขึ้นซี่ลวดแบบไขว่จะเหมาะกับ BMX STREET ส่วน BMX FLATLAND สามารถขึ้นซี่ลวดแบบไหนก็ได้
Sprocket (ใบจาน)
ใบ จาน มีอยู่ด้วยกันหลายขนาดตั้งแต่ 44 - 25 ฟัน ทำจาก อลูมิเนียม และ ไทเทเนียม ใบจานที่นิยมใช้กันจะหนา 5 - 8 ม.ม. หรือ อาจจะหนามากกว่านั้น ส่วนการเลือกใช้ใบจานจะต้องอ้างอิงกับเฟืองล้อหลังด้วย เพื่อให้เป็นการทดเกียร์ที่เหมาะสมสำหรับการออกแรงปั่น
หลักการคำนวณเลือกใช้ขนาดใบจานให้เหมาะสมกับเฟืองล้อหลัง
ให้นำเอาจำนวนฟันเฟืองของล้อหลังคูณด้วย 2.8 ผลที่ได้ก็จะเป็นจำนวนฟันของใบจานที่จะต้องใช้ เช่น
เฟืองของล้อหลังใช้ 16 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 44 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 14 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 39 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 13 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 36 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 12 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 33 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 11 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 30 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 9 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 25 ฟัน
สำหรับ ใครที่ต้องการให้น้ำหนักในการปั่นเบากว่านี้ ก็ให้ลดจำนวนฟันลงจากปกติสักเล็กน้อย แต่ไม่ลดมากเกินไป อาจจะทำให้รอบในการปั่นถี่เกินไป
Stem (คอ)
คอจักรยานจะ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ BMX STREET และแบบ BMX FLATLAND
คอแบบ FLATLAND จะมีขนาดสั้นกว่าของ STREET ขนาดความยาวของคอ
จะ วัดจากศูนย์กลางรูใส่ตะเกียบถึงตรงกลางตำแหน่งตรงกลางที่ใส่แฮนด์ ขนาดคอแฟลทแลนด์จะยาว 26-35 ม.ม. ส่วนของสตรีตคอจะยาว 45 - 55 ม.ม.
Tire (ยาง)
ยางนอก จะมีอยุ่หลายขนาดของแฟลตแลนด์ ลายดอกยางจะละเอียดไม่ห่างกันมาก ความดันของยางตั้งแต่60-120 psi ที่นิยมกันก็ประมาณ 100psi
ยาง นอกแบบ BMX DIRT และ BMX RACING ดอกยางจะหนา และ ลายของดอกยางจะห่างกว่าเพื่อให้เกาะยืดพื้นดินได้ดี ยางนอกแบบเรสซิ่งขอบอาจจะเล็กกว่า 1.75 ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น