วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของจักรยานBMX

 ชิ้นส่วนต่างๆของ BMX
ทำความรู้จักชิ้นส่วนต่างๆของจักรยาน BMX
Axle (แกนล้อ)
แกน ล้อBMX จะมีด้วยกัน 2 ขนาด ได้แก่ แกนล้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 3/8 นิ้ว ที่เรียกกันทั่วไปว่า แกนเล็ก และอีกขนาด คือ แกนล้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 14 มิลลิเมตร ที่เรียกกันทั่วไปว่า แกนใหญ่ การเลือกล้อจะใช้แกนแบบไหนนั้นก็ต้องดูก่อนว่า เราจะเอาไปใช้ขี่BMXแบบไหน ถ้าเอาไปขี่BMXที่ต้องกระโดด แกนล้อต้องรับแรงกระแทก ก็ควรที่จะใช้แกนใหญ่ ถ้าหากใช้แกนเล็ก แกนล้ออาจจะงอได้
Bar Ends (ปิดปลายแฮนด์)
(ปิดปลายแฮนด์) จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่เป็นลักษณะหมุด และแบบที่เป็นฝาปิด
Bar or Handle Bar (แฮนด์)
ขนาด ของแฮนด์ BMX จะใช้ขนาด 7/8 นิ้ว สูง 6 – 7 นิ้วโดยประมาณ ส่วนความกว้างนั้น แล้วแต่ผู้ใช้จะตัดเอง ส่วนใหญ่ความยาวของแฮนด์ก็จะกว้างกว่าหัวไหล่ของผู้ขี่เล็กน้อย ส่วนรูปทรงก็จะจำแนกไปตามประเภทที่จะขี่ หากเป็นของแฟลตแลนด์รูปทรงก็จะแคบๆเว้าๆ เพื่อให้ง่ายและสะดวกกับการเล่นท่า หากเป็นของสตรีต รูปทรงก็จะธรรมดา ความกว้างของแฮนด์ก็จะกว้างกว่าของแฟลตแลนด์เล็กน้อย
Bearing (ลูกปืน)
ลกปืนจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
1. ลูกปืนเม็ด เป็นลูกปืนแบบธรรมดา ราคาถูก นำหนักเบา อายุการใช้งานสั้นกว่าแบบแบริ่ง
2. ลูกปืนแบบตลับ หรือเรียกว่าแบบแบริ่ง ราคาสูงกว่าแบบแรก แต่ทนทานกว่าเป็นที่นิยม ใช้กันมาก ใช้กับทุกส่วนที่ใช้ลูกปืน แต่อยู่ดีๆจะเอามาเปลี่ยนแทนลูกปืนเม็ดไม่ได้ เพราะอะไหล่ที่ใช้กับตลับแบริ่งจะออกแบบมาใช้กับตลับแบริ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ดุม ถ้วยคอ ถ้วยกะโหลก บันได โรเตอร์
Bottom Bracket (ชุดถ้วยลูกปืนกะโหลก)
ชุด ถ้วยลูกปืน จะมีทั้งแบบที่ใช้ลูกปืนเม็ดที่ใช้กับขาจานเลื้อยและแบบที่ใช้ตลับแบริ่ง กะโหลกจะมีด้วยกัน 4 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะใช้เฉพาะกับกะโหลกของเฟรมนั้นๆ ได้แก่
1. American BB เป็นขนาดต้นตำหรับของชุดกะโหลก ซึ่งจะมีแบริ่งอยู่ในถ้วย แล้วใส่เอาไปในกะโหลกอีกที American BB จะมีขนาดใหญ่ ทนทาน แต่จะมีน้ำหนักมากกว่าแบบอื่น
2. European BB เป็นชุดถ้วยลูกปืนที่มีขนาดเล็ก จะมีแบริ่งอยู่ในถ้วยที่ด้านนอกของถ้วยจะมีเกลียวไว้ไขยึดกับเฟรม ซึ่งที่เฟรมก็จะมีเกลียวเช่นกัน
3. Mid BB เป็นกะโหลกแบบที่ไม่ต้องใช้ถ้วย แต่สามารถใส่ตลับแบริ่งเข้าไปในกะโหลกของเฟรมได้เลย Mid BB จะมีขนาดใหญ่เท่ากับของ American BB
4. Spanish BB เป็นกะโหลกแบบที่ไม่ต้องใช้ถ้วย แต่สามารถใส่ตลับแบริ่งเข้าไปในกะโหลกของเฟรมได้เลย Spanish BB จะมีขนาดใหญ่เท่ากับของ European BB
Brake Lever (มือเบรก)
มือ เบรก มีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ แบบธรรมดา จะตรงๆ และ แบบงอ ใช้ใส่ตรงตำแหน่งส่วนที่โค้งของแฮนด์ มือเบรกแบบนี้สามารถเอามือเบรกแบบแรกมางอเองก็ได้ แต่ต้องระวังอาจจะหักได้
Brake (เบรก)
เบรก BMX ในปัจจุบันจะใช้เบรกที่มีลักษณะในรูป ที่เรียกว่า U-Brake ซึ่งจะมีหมุดสำหรับยึดอยู่ทั้งสองด้าน ซึ่งถ้าเป็นเบรกรถจักรยานทั่วไปจะมีหมุดยึดเพียงอันเดียว และยังมีอีกแบบคือ V – Brake เป็นเบรกที่มีลักษณะเดียวที่ใช้กับ เมาเทนไบค์ และโครง BMX RACING ตำแหน่งของการใส่เบรกจะไม่เหมือนกับ U-Brake จึงไม่สามารถมาใช้แทนกันได้
Chain (โซ่)
โซ่ BMX จะมีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบธรรมดาที่ใช้กับจักรยานทั่วไป และอีกแบบคือ Half Link เป็นโซ่ที่มีลักษณะของข้อต่อเพียงชิ้นเดียวต่อกัน โดยทั่วไปแล้วใน 1 ช่วงของโซ่จะมีข้อต่อ2ตัว แต่ของ Half Link จะมีข้อต่อชิ้นเดียว เพื่อให้สะดวกในการตั้งระยะของล้อ
Cranks (ขาจาน)
ขาจาน BMX มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. ขาจานเลื้อย เป็นขาจานแบบธรรมดา ที่ใช้กับ BMX ทั่วไป
2. ขาจานดูดแบบ 2 ชิ้น เป็นขาจานที่แยกเป็น 2 ชิ้น ซึ่งจะใส่สวมเข้าด้วยกัน ขาจานแบบนี้ในบ้านเราไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก
3. ขาจานดูดแบบ 3 ชิ้น เป็นขาจานที่แยกเป็นสามชิ้น คือ ขาจานด้านซ้าย ขวา และแกน ขาจานแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากเพราะมีความทนทาน น้ำหนักเบาสะดวกในการประกอบใช้งาน
Forks (ตะเกียบจักรยาน)
ตะเกียบจักรยาน BMX มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ
1. ตะเกียบที่ใช้กับ BMX FLADLAND ตรงตำแหน่งที่ใส่แกนล้อจะใกล้กับหรือตรงกับแกนกลางของตะเกียบ เพื่อให้หมุนล้อหน้าได้สะดวก จะมีแกนใส่เบรกแบบ U Brake ยื่นออกมา (Mount)
2. ตะเกียบที่ใช้กับ BMX STREET ตรงตำแหน่งที่ใส่แกนล้อจะยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อเพิ่มระยะของช่วงรถออกไป ตะเกียบ BMX STREET ในปัจจุบันจะไม่นิยมมีแกนสำหรับใส่เบรกหรือไม่ต้องใช้เบรกหน้านั้นเอง เพราะ BMX STREET นิยมใช้กันเพียงแค่เบรกหลังเท่านั้น
3. ตะเกียบที่ใช้กับ BMX RACING ตะเกียบจะมีรูปทรงแตกต่างออกไปจาก 2 ประเภท และมีน้ำหนักเบากว่า
ขนาด ตะเกียบในปัจจุบันจะใช้กับถ้วยคอที่มีขนาด 1 1/8 นิ้ว ซึ่งถ้าเป็นรุ่นเก่าหรือจักรยาน BMX ทั่วไป จะมีขนาด 1 นิ้ว แล้วที่หัวของตะเกียบจะมีน๊อต สำหรับไว้ไขให้คอ ตะเกียบ กับ ชุดถ้วยคอ ยึดแน่นเข้าด้วยกัน จะมีแบบเกลียวนอก และใน สำหรับตะเกียบที่ไม่มีเกลียวเลย ก็ต้องใช้สตาร์นัตแทน
Frame (โครงจักรยาน)
เฟรม BMX จะแบ่งตามประเภทที่ขี่
1. เฟรมแบบ BMX STREET ใช้ขี่ประเภทสตรีต เดิร์ตและ เวิร์ต ทำจาก โครโมลี่ และ ไทเทเนียม รูปทรงจะเรียบๆง่ายๆ ความยาว Top Tube (ความยาวท่อด้านบนของเฟรม) จะยาวตั้งแต่ 19.5 - 21 นิ้ว
2. เฟรมแบบ BMX FLATLAND จะทำจาก โครโมลี่อลูมิเนียม และไทเทเนียม รูปทรงจะดูแปลกๆ ท่อส่วนล่างของเฟรมส่วนใหญ่มักจะเว้าโค้งเพื่อหลบขาเพื่อความสะดวกเวลาเล่น ท่าล้อหน้า แต่ก็มีตัวถังแฟลตแลนด์บางตัวที่ไม่หลบขาก็มีขนาด Top Tube จะยาว 18.5 - 19 นิ้ว
3. เฟรมแบบ BMX RACING ทำจากอลูมิเนียม ขนาดตัวถังจะมากกว่าหรือเท่ากับประเภทสตรีตเล็กน้อย รูปทรงจะออกมาเพื่อใช้สำหรับขี่แบบใช้ความเร็วโดยเฉพาะ
Grips (ปลอกแฮนด์)
ปลอก แฮนด์ จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่มีปีกกันมือตรงปลาย และแบบไม่มีปีก ปัจจุบันจะนิยมใช้แบบไม่มีปีกกันมือ เนื้อยางของปลอกแฮนด์จะมีความหนึบกว่าปลอกแฮนด์จักรยานทั่วไป ปลอกแฮนด์จะมีหลายขนาดหลายสีสัน สามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบใจ
รูปภาพ Grip Stop (ตัวกันปลอกแฮนด์)
หากไม่ได้ใส่มือเบรก ก็จะใส่ตัวกันปลอกแฮนด์ จะช่วยไม่ให้ปลอกแฮนด์ลื่นไหล และป้องกันปลอกแฮนด์ฉีกขาด เมื่อรถล้มแล้วแฮนด์ไถลกับพื้น
Gyro (ไกย์โร หรือ โรเตอร์ )
โรเตอร์ เป็นตัวช่วยไม่ให้สายเบรกหลังพันกัน เมื่อเวลาหมุนแฮนด์ตัวโรเตอร์จะมีกลไกลที่ทำให้สายเบรกไม่พันกัน เหมาะกับคนที่ใช้เบรกหลังและต้องเล่นท่าที่หมุนแฮนด์
Headset (ชุดถ้วยคอ)
ชุดถ้วยคอ จะใช้ขนาด 1 1/8 นิ้ว มีด้วยกัน 3 แบบคือ
1. ชุดถ้วยคอแบบลูกปืนเม็ด เป็นแบบธรรมดา จะใช้ลูกปืนเป็นแบบเม็ด ราคาจะถูกว่าแบบแบริ่ง
2. ชุดถ้วยคอแบบแบริ่ง จะใช้ลูกปืนที่มีลักษณะที่เป็นตลับลูกปืนที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า แบริ่ง ดีกว่าแบบแรก ทนทานกว่าราคาก็จะสูงกว่า
3. ชุดถ้วยคอฝัง (Hidden) ชุดถ้วยคอแบบนี้จะใช้เฉพาะตัวถังบางรุ่นที่ออกแบบมาให้ใช้ชุดถ้วยคอแบบนี้ โดยเฉพาะ คือ ชุดคอจะอยู่ด้านในของคอของตัวถังจึงไม่จำเป็นต้องใช้ถ้วยของลูกปืน ทำให้สามารถลดน้ำหนักของรถลงได้
Hubs (ดุมล้อ)
ดุม ล้อ จะมีทั้งแบบที่ใช้ลูกปืนแบริ่งและแบบที่ใช้ลูกปืนเม็ดธรรมดา ดุมล้อที่นิยมใช้มีด้วยกัน 2 ขนาดคือ ดุมที่ใช้ซี่ลวด 36 ซี่ กับดุมที่ใช้ซี่ลวด 48 ซี่ ดุมล้อหลังจะออกแบบตามประเภทของการใช้งานของแต่ละประเภทของการขี่ ส่วนดุมหน้าสามารถใช้ได้ทุกประเภท
1. ดุมหลังแบบ Cassette คือจะมีชุดตลับฟรีในตัว ทำให้มีความทนทาน แล้วยังสามารถเปลี่ยนฟันเฟืองได้ด้วย เป็นดุมล้อที่ใช้สำหรับประเภทสตรีต
2. ดุมหลังฟรีคอสเตอร์ จะมีฟรีในตัวเช่นเดียวกับแบบเคสเสท แต่จะมีกลไกที่ทำให้เมื่อถอยหลังตัวเฟืองจะอยู่นิ่งๆ ทำให้ขาจานไม่หมุนตาม เหมาะสำหรับแฟลตแลนด์
3. ดุมหลังแบบ Flip/flop เป็นดุมธรรมดาทั่วไปที่ต้องใช้ตลับฟรี มีทั้งแบบลูกปืนธรรมดาและแบริ่ง ส่วนตลับฟรีก็จำนวนฟันเฟือง 16 ,14 และ 13 ฟัน หากต้องการจำนวนฟันเฟืองน้อยกว่านี้ ก็ต้องใช้ดุมแบบเคสเสท
Pedals (บันไดจักรยาน)
บันได จะมีแกนอยู่ 2 ขนาด คือ 1/2 นิ้วเรียกทั่วไปว่า แกนเล็ก และ 9/16 นิ้ว เป็นแกนใหญ่ แกนเล็กสำหรับขาจานเลื้อย ส่วนแกนใหญ่จะใส่กับขาจาน 3 ชิ้น แต่ก็มีขาจานเลื้อยที่สามารถใส่แกนใหญ่ได้เช่นกัน แกนบันไดจะทำจากโครโมลี่และไทเทเนียม ส่วนตัวบันไดทำจาก พลาสติก อลูมิเนียม และ แมกนีเซียม บันไดจะมีทั้งใช้ลูกปืนเม็ดและแบริ่ง
Pegs (ที่พักเท้า)
ที่พักเท้าจะมี 2 ประเภท คือแบบที่ใช้กับประเภทสตรีตและแบบแฟลตแลนด์
1. ที่พักเท้าแบบสตรีต จะมีลักษณะผิวเกลี้ยง ไว้สำหรับไถลบนราวเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/4 - 1 1/2 นิ้ว ยาวประมาณ 4 นิ้ว ทำจากโครโมลี่ และไทเทเนียม
2. ที่พักเท้าแบบแฟลตแลนด์ จะมีผิวหยาบเอาไว้สำหรับเหยียบเพื่อเล่นท่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 - 2 นิ้ว ยาวประมาณ 4 นิ้ว ทำจากอลูมิเนียม
Rim (ขอบล้อ)
ขอบ ล้อ มีด้วยกัน 3 แบบ คือ 1 ชั้น 2 ชั้นและ3ชั้น ขนาดของขอบล้อ 20 x 1.75 นิ้ว ทำจากอลูมิเนียม เคลือบผิวด้วย อโนได และ โครเมียม สำหรับการเลือกใช้ขอบล้อนั้นถ้าหากล้อนั้นต้องใช้เบรกก็ต้องใช้ขอบล้อที่ เคลือบผิวสีมันวาว เช่น ฮาร์ด อโนได และโครเมียม ส่วนล้อที่ไม่ได้ใช้เบรคก็สามารถเลือกใช้ขอบล้อได้ตามชอบใจ
Seat Clamp (ตัวลัดหลักอาน)
ตัวลัดหลักอาน จะมีขนาด 25.4 นิ้ว ทำจากอลูมิเนียม และไทเทเนียม ใช้สำหรับล็อกหลักอานให้ยึดติดกับเฟรมจักรยาน
Seat Post (หลักอาน)
หลัก อานหลักอาน จะมี3 แบบคือ 1.แบบมีปะกับล็อกในตัว 2.แบบที่ใช้ล๊อกกับหลักอานโดยตรง และ แบบไม่มีปะกับล็อก หลักอานที่ใช้กันจะมีขนาด 25.4 มม. ส่วนของเรสซิ่งจะมี ขนาดใหญ่กว่า หลักอานทำจาก อลูมิเนียม คาบอน โครโมลี่ และไทเทเนียม
Seat (อาน)
อาน มีด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. แบบ BMX FLATLAND จะเป็นอานที่เป็นพลาสติกทั้งอัน และ แบบที่มีฟองน้ำหุ้มตรงกลาง รูปทรงจะเล็กๆกระทัดลัด ตรงส่วนท้ายของอานจะมีที่ไว้สำหรับจับ
2. แบบ BMX STREET จะเป็นอานที่หุ้มด้วยฟองน้ำทั้งอันเพื่อให้นั้งสบายและลดแรงกระแทก ขนาดจะไม่ยาวมากและส่วนท้ายของอานจะไม่มีที่จับ
3. แบบ BMX RACING จะเป็นอานที่หุ้มด้วยฟองน้ำทั้งอันเพื่อให้นั้งสบายและลดแรงกระแทก ขนาดจะยาวกว่าทั้งสองแบบ
Spokes (ซี่ลวด)
ซี่ลวด ใช้สำหรับขึ้นล้อ ทำจากสเตนเลส ส่วนความยาวของซี่ลวดก็จะต่างกันไปตามขนาดความกว้างของดุมที่ใช้และรูปแบบการขึ้นซี่ลวด
การ ขึ้นซี่ลวดก็จะมี 2 แบบ คือแบบไขว่และแบบตรง โดยแบบไขว่จะรับแรงได้ดีกว่าแบบตรงแต่ซี่ลวดก็จะยาวกว่าทำให้น้ำหนักมากกว่า การขึ้นซี่ลวดแบบตรง การขึ้นซี่ลวดแบบไขว่จะเหมาะกับ BMX STREET ส่วน BMX FLATLAND สามารถขึ้นซี่ลวดแบบไหนก็ได้
Sprocket (ใบจาน)
ใบ จาน มีอยู่ด้วยกันหลายขนาดตั้งแต่ 44 - 25 ฟัน ทำจาก อลูมิเนียม และ ไทเทเนียม ใบจานที่นิยมใช้กันจะหนา 5 - 8 ม.ม. หรือ อาจจะหนามากกว่านั้น ส่วนการเลือกใช้ใบจานจะต้องอ้างอิงกับเฟืองล้อหลังด้วย เพื่อให้เป็นการทดเกียร์ที่เหมาะสมสำหรับการออกแรงปั่น
หลักการคำนวณเลือกใช้ขนาดใบจานให้เหมาะสมกับเฟืองล้อหลัง
ให้นำเอาจำนวนฟันเฟืองของล้อหลังคูณด้วย 2.8 ผลที่ได้ก็จะเป็นจำนวนฟันของใบจานที่จะต้องใช้ เช่น
เฟืองของล้อหลังใช้ 16 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 44 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 14 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 39 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 13 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 36 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 12 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 33 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 11 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 30 ฟัน
เฟืองของล้อหลังใช้ 9 ฟัน จะต้องใช้ใบจานขนาด 25 ฟัน
สำหรับ ใครที่ต้องการให้น้ำหนักในการปั่นเบากว่านี้ ก็ให้ลดจำนวนฟันลงจากปกติสักเล็กน้อย แต่ไม่ลดมากเกินไป อาจจะทำให้รอบในการปั่นถี่เกินไป
Stem (คอ)
คอจักรยานจะ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ BMX STREET และแบบ BMX FLATLAND
คอแบบ FLATLAND จะมีขนาดสั้นกว่าของ STREET ขนาดความยาวของคอ
จะ วัดจากศูนย์กลางรูใส่ตะเกียบถึงตรงกลางตำแหน่งตรงกลางที่ใส่แฮนด์ ขนาดคอแฟลทแลนด์จะยาว 26-35 ม.ม. ส่วนของสตรีตคอจะยาว 45 - 55 ม.ม.
Tire (ยาง)
ยางนอก จะมีอยุ่หลายขนาดของแฟลตแลนด์ ลายดอกยางจะละเอียดไม่ห่างกันมาก ความดันของยางตั้งแต่60-120 psi ที่นิยมกันก็ประมาณ 100psi
ยาง นอกแบบ BMX DIRT และ BMX RACING ดอกยางจะหนา และ ลายของดอกยางจะห่างกว่าเพื่อให้เกาะยืดพื้นดินได้ดี ยางนอกแบบเรสซิ่งขอบอาจจะเล็กกว่า 1.75 ก็ได้

ประเภทของจักรยานBMX



BMX  FLATLAND   การขี่จักรยานประเภทแฟลตแลนด์   เป็นการขี่จักรยานผาดโผนบนพื้นราบ โดยเน้นการทรงตัวและการเล่นท่าบนจักรยาน เสน่ห์ของการขี่ประเภทนี้อยู่ที่ความต่อเนื่องในการเล่นท่า  โดยจะเล่นท่าหนึ่งแล้วจะไปต่ออีกท่าหนึ่งโดยที่เท้าไม่สัมผัสพื้น    BMX  FLATLAND   ได้เข้ามาในบ้านเราเมื่อประมาณ 10กว่าปีที่แล้ว และยังคงเป็นที่นิยมจนถึงทุกวันนี้  BMX  FLATLAND   เป็นกีฬาเอ็กส์ตรีมที่มีความเสี่ยงไม่มาก   สามารถที่จะเล่นได้ทุกวัย    จะมีเล่นกันเป็นกลุ่มๆตามสวนสาธารณะ  ตามลานจอดรถกว้างๆ  จะกระจายกันอยู่ในทุกๆจังหวัด   โดยจะมีการจัดแข่งขันอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ
การ แข่งขันประเภทแฟลตแลนด์จะเป็นการตัดสินจากการให้คะแนน  การแข่งก็จะคล้ายๆกับยิมนาสติกลีลา  แต่จะเป็นลีลาบนจักรยานBMX   โดยมีการแบ่งรุ่นการแข่งขันออกเป็นหลายรุ่นตามระดับฝีมือ   ลักษณะการแข่งจะมีด้วยกัน 2 แบบ   คือการแข่งขันภายในเวลาที่กำหนดโดยมีกรรมการเป็นผู้ให้คะแนนซึ่งจะพิจารณา จากความยากง่ายและความต่อเนื่องของท่าโดยไม่ให้เท้าสัมผัสพื้น   หากเท้าสัมผัสพื้นจะถูกหักคะแนนตามความเหมาะสม   การแข่งขันอีกแบบหนึ่งคือการแข่งขันแบบตัวต่อตัว   ( Battle)  คือการออกมาประชันท่ากันแบบตัวต่อตัว   หากยังนึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงการชกมวย   แต่จะใช้การเล่นท่าประชันกัน ซึ่งจะแข่งขัน 3 ยก  โดยนักกีฬาจะผลัดกันออกมาแสดงท่าผาดโผน  ใน 1 ยกจะเล่นท่าผาดโผนได้คนละหนึ่งชุด (ไม่ได้กำหนดเวลาและความยาวของท่าต่อเนื่องส่วนใหญ่  จะไม่เล่นท่าต่อเนื่องกันยาวมากนักเพื่อป้องกันความผิดพลาด)  เมื่อครบ 3 ยก  กรรมการจะตัดสินให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะไป   และยังมีการจัดแข่งแยกย่อยออกไปอีกเพื่อให้การจัดแข่งขันนั้นมีความน่าสนใจ และสนุกสนานมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การแข่ง  Best Trick  คือการแข่งว่าท่าของใครยากและเจ๋งที่สุดเป็นผู้ชนะ  การแข่งขันว่าใครเล่นท่าต่อเนื่องได้มากที่สุด    และการแข่งขันว่าใครเล่นท่าได้นานที่สุด  เป็นต้น
ลักษณะของ จักรยาน BMX FLATLAND   ช่วงของตัวรถจักรยานประเภทนี้จะสั้นกว่ารถประเภทอื่นๆ เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการเล่นท่าผาดโผน  โครงของรถแฟลตแลนด์จะออกแบบมาให้สะดวกในการเล่นท่าและมีน้ำหนักเบา  รูปทรงจะโค้งบ้างเว้าบ้าง  ชิ้นส่วนต่างๆก็จะแตกต่างกันกับประเภทอื่นๆ  บางท่านที่ยังไม่เคยรู้จักกับBMX ผาดโผนอาจจะยังแยกไม่ออก  มองผิวผืนก็จะดูเหมือนๆกันและอาจจะทำให้ท่านเลือกใช้รถผิดประเภทได้ ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป
ทักษะของการขี่จักรยาน BMX  FLATLAND   โดยหลักๆเลยก็จะเน้นการทรงตัวบนรถจักยานที่เคลื่อนไปเพียงล้อเดียว โดยเท้าของเราจะยื่นอยู่บนที่พักเท้า ( Peg) ที่อยู่ตรงแกนล้อทั้งล้อหน้าและหลัง   ทักษะการใช้เท้าไถล้อเพื่อให้รถได้เคลื่อนที่ไป  และทักษะการต่อเนื่องของแต่ละท่า   การขี่จักรยาน BMX FLATLAND  จำเป็นต้องใช้สมาธิ  ความพยายาม  และความอดทนสักนิดหนึ่งเพราะการฝึกหัดในแต่ละท่าอาจะจะต้องใช้เวลามากพอดู บางท่าอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ แต่บางท่าก็อาจใช้เวลาแค่ไม่กี่วัน แต่นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความขยันฝึกซ้อมและความอดทน  ถ้าหากคุณเป็นคนใจร้อนแล้วละก็  ลองหันมาหัดเล่นจักรยาน BMX  FLATLAND  ดู   มันอาจจะทำให้คุณเป็นคนใจเย็นและมีสมาธิมากขึ้นก็ได้

BMX  STREET  การขี่จักรยานประเภทสตรีต   เป็นการขี่จักรยานผาดโผน โดยอาศัยอุปกรณ์ในการเล่น  จะเล่นท่าผาดโผนต่างจากประเภทแฟลตแลนด์  ซึ่งผู้เล่นจะขี่ออกไปเล่นกันตามท้องถนน  หรือสวนสาธารณะ   อุปกรณ์ที่ใช้เล่นก็มีอยู่ตามท้องถนน เช่น  ม้านั้ง   ราวบันได  ราวเหล็ก  ริมฟุตบาท  และเนินลาดชันต่างๆเป็นต้น  แล้วขี่เล่นท่าผาดโผน  ยกล้อ  หมุนตัว  หรือ ไถลกับราวเหล็ก ลักษณะของจักรยาน BMX  STREET  ช่วงของรถจักรยานประเภทนี้จะยาวกว่าของประเภทแฟลตแลนด์เล็กน้อย   และรูปทรงจะไม่แปลกเหมือนรถจักยานแฟลตแลนด์
ก็เพราะสตรีตไม่ได้ใช้สำหรับ เล่นท่าบนพื้นราบ  รูปทรงจึงไม่ออกแบบมาสำหรับเล่นท่าแต่จะเน้นไปในการขี่  และกระโดดซะส่วนใหญ่   ชิ้นส่วนต่างๆ ก็จะแตกต่างกันด้วย
ทักษะที่ใช้ขี่จักรยาน  BMX  STREET   ที่เน้นๆเลยก็คือ   การกระโดด ( Bunny Hop )  การยกล้อหน้า (Manual )  และการไถลบนราว ( Grind)   และก็ยังมีท่าที่พลิกแพลงอีกมากมาย  สำหรับจักรยาน BMX  STREET  จะต้องใช้ความกล้าพอควรเพราะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูง  ผู้เล่นจึงควรใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้ง  และเมื่อคุณเล่นท่าพื้นฐานของประเภทนี้ได้จนเป็นหมดแล้ว  ที่เหลือก็อยู่ที่ใจคุณแล้วละว่า  “กล้าพอหรือเปล่า”ที่จะเล่นท่าผาดโผนกับอุปกรณ์บนท้องถนนเหล่านั้น

BMX  PARK เป็นการขี่แบบเดียวกับประเภทสตรีต    โดยเล่นกับอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นในรูปแบบสนาม    SKATE PARK      ซึ่งพัฒนาอุปกรณ์ในการเล่นมาจากอุปกรณ์บนท้องถนน ให้ได้มาตรฐานและมีความน่าเล่นมากยิ่งขึ้นโดยอุปกรณ์ในสนามจะถูกออกแบบและ จัดว่างในตำแหน่งที่เหมาะสม
ในการแข่งขันจักรยาน BMX  PARK  จะทำการแข่งขันภายในเวลาที่กำหนดโดยมีกรรมการเป็นผู้ให้คะแนนซึ่งจะพิจารณา จากความยากง่ายของท่าและความต่อเนื่องในการเล่นในแต่ละอุปกรณ์  ในการแข่งขัน  นักกีฬาสามารถเอาเท้าสัมผัสกับพื้นหรืออุปกรณ์ได้โดยไม่ ถูกหักคะแนนเพื่อเป็นการหยุดพักหรือจัดท่าทางในการออกตัวในการเล่นท่ากับ อุปกรณ์ต่อไป  และสามารถใช้เท้าร่วมเล่นเป็นท่าผาดโผนได้อีกด้วย   ส่วนลักษณะรถก็เป็นรถจักรยานประเภทสตรีตนั้นละครับ  เพียงแค่เปลี่ยนสถานที่เล่นจากท้องถนน มาเป็นในสนามที่มีความเป็นมาตรฐานเท่านั้นเอง
ทักษะที่ใช้ขี่จักรยานประเภทนี้ก็ใช้ทักษะเดียวกับประเภทสตรีตนั้นละครับ  แต่จะเพิ่มในส่วนของการเล่นท่ากับอุปกรณ์ได้หลากหลาย และท่ากลางอากาศ  เพิ่มเข้ามา   ถ้าหากมีพื้นฐาน BMX  STREET อยู่แล้ว  ก็สามารถเล่น BMX PARK  ได้อย่างไม่ยากนัก
กีฬาประเภทนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง  ก่อนเล่นจึงควรใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้ง  เช่น  หมวกกันน๊อค   สนับเข่า  สนับศอก  และสนับแข้ง เป็นต้น

BMX DIRT  คือการขี่จักรยานผาดโผนกระโดดเนินดินโดยจะเน้นเล่นท่ากลางอากาศเพียงอย่าง เดียว  ลักษณะของสนามจะเป็นเนินดินคล้ายสนาม  Motocoss  มีเนินสำหรับกระโดดติดต่อกันหลายๆลูก  ทำให้การกระโดดเล่นท่าผาดโผนกลางอากาศมีความต่อเนื่องกัน
การแข่งขันในประเภท BMX  DIRT  จะทำการปล่อยตัวนักกีฬาที่ละคน  แล้วให้ทำการกระโดดเนินดินและเล่นท่ากลางอากาศ  ให้ครบจำนวนเนินเดินที่กระโดด  เนินดินก็จะมีจำนวนที่ไม่มากนัก   นักกีฬาคนไหนที่เล่นท่าได้ยากและเจ๋งที่สุดโดยไม่มีขอผิดพลาดเลยก็จะเป็นผู้ ชนะไป
ลักษณะของจักรยาน ก็ใช้แบบเดียวกับ ประเภทสตรีต    เพียงแค่เปลี่ยนยางมาใช้เป็นแบบที่มีดอกยางหนาๆ ที่ใช้สำหรับสนามดินแบบMotocoss  Pegs  (ที่พักเท้า) ออกแค่นั้นเอง
กีฬาประเภทนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง  ก่อนเล่นจึงควรใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้ง  เช่น  หมวกกันน๊อค   สนับเข่า  สนับศอก  และสนับแข้ง เป็นต้น


BMX VERT เป็นการขี่ผาดโผนโดยต้องใช้อุปกรณ์ในการเล่น  โดยอุปกรณ์จะมีลักษณะเป็นท่อครึ่งวงกลม  หรือ Half  Pipe   โดยผู้เล่นจะปั่นแล้วกระโดดขึ้นลงตามความโค้งของ Half Pipe  แล้วเมื่อได้ยังหวะก็จะเล่นท่าผาดโผนกลางอากาศ
ในการแข่งขันจักรยาน BMX  VERT  จะทำการแข่งขันภายในเวลาที่กำหนดโดยมีกรรมการเป็นผู้ให้คะแนนซึ่งจะพิจารณา จากความยากง่ายของท่า   ในการแข่งขันนักกีฬาสามารถเอาเท้าสัมผัสกับพื้นหรืออุปกรณ์ได้   โดยไม่ถูกหักคะแนนเพื่อเป็นการหยุดพักหรือจัดท่าทางในการออกตัวในการเล่นท่า กับอุปกรณ์  และสามารถใช้เท้าร่วมเล่นเป็นท่าผาดโผนได้อีกด้วย   ส่วนลักษณะรถก็เป็นรถจักรยานประเภทสตรีตนั้นเอง
ทักษะของกีฬาประเภทนี้ จะใช้ทักษะค่อนข้างยากสักนิดหน่อย   เนื่องด้วยอุปกรณ์มีความสูงมาก  และมุมในการลอยตัวก็เป็นมุมที่ตั้งฉากกลับพื้นดิน  จึงจำเป็นที่จะต้องมีทักษะในการกระโดดลอยตัวกลับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Quarter  Pipe  ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ก็จะอยู่ในสนาม  SKATE PARK   หรือคุณต้องมีทักษะในการเล่น BMX  PARK  อย่างค่อนข้างชำนาญแล้วนั้นเอง
BMX Racing เป็นการขี่แบบแข่งความเร็วในระยะสั้นๆ รูปแบบลักษณะของสนามแข่งจะออกแบบให้มีทางโค้งสลับกันไป และมีเนินสำหรับกระโดด เช่นเดียวกับสนามของ Motocoss   จักรยาน BMX Racing  ได้เอามาในบ้านเราเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นเป็นที่นิยมมาก แล้วก็ได้เงียบหาไปจากวงการเมื่อช่วง 10ปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันนี้ จักรยานBMX racing กำลังกลับมาเป็นที่นิยม  เริ่มมีการจัดแข่งขันมากขึ้น  คนที่เคยเลิกไป ก็เริ่มจะกลับมาปัดฝุ่นจักรยานคันเก่า  หันมาปั่น BMX กันอีกครั้ง
ในการแข่งขันจักรยานBMX Racing จะแข่งรุ่นการแข่งขันตามอายุและตามความสามารถ  มีการเก็บคะแนนสะสมแต่ละสนาม   การแข่งขันในหนึ่งรัน  โดยปกติจะปล่อยตัวมากที่สุด 8 คัน แล้วหาผู้ชนะในแต่ละรันเข้ารอบต่อไป  ขึ้นอยู่กับกติกาในการจัดแข่งขันในสนามนั้นๆ
ลักษณะของจักรยานBMX  RACING  ช่วงของรถจะยาวกว่า BMX ประเภทอื่น  เพื่อช่วยเพิ่มหน้าสัมผัสกับพื้นสนาม ทำให้ยึดเกาะสนามได้ดี  ทำให้ง่ายต่อการกระโดดขึ้น ลง เนิน    รูปร่างของตัวรถจะออกแนวทันสมัยรูปทรงออกแบบมาตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้การขับขี่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่รูปทรงธรรมดาก็ยังเป็นที่นิยมอยู่  ทักษะของการขี่จักรยานประเภท Racing  โดยหลักๆก็จะเน้นการกระโดดเนิน   การเข้าแบงก์  และการเร่งความเร็ว  สำหรับท่านที่ไม่เคยขี่ Racing มาก่อนก็ไม่ควรไปลองกระโดดเนินเองนะครับ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้  บางคนที่เคยเห็นจากโทรทัศน์เห็นว่าง่ายๆ แต่ที่จริงแล้วก็อาจไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด  ควรจะศึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้ที่ขี่อยู่ก่อนแล้ว แล้วก่อนลงสนามทุกครั้งก็ควรจะใส่อุปกรณ์ป้องกันด้วยนะครับ
สำหรับท่านที่ชื่นชอบกีฬาความเร็วเป็นชีวิตจิตใจแล้วละก็  BMX ประเภทนี้น่าจะเหมาะกับคุณมากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ยุคเริ่มต้นของจักรยานBMX

จักรยาน 2 ล้อ รุ่นแรก
ประวัติความเป็นมาของจักรยาน BMX
ทำความรู้จักถึงความเป็นมา ต้นกำเนิด
จักรยานสองล้อรุ่นแรก ๆ ที่เป็นต้นแบบของจักรยานสองล้อในปัจจุบันมีกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อราวปี พ.ศ. 2343 ในปี พ.ศ. 2408  ได้มีการผลิตจักรยาน 2 ล้อ รุ่นหนึ่งซึ่งมีตัวล้อเป็นเหล็ก  และมีขอบล้อทำด้วยไม้  กำลังเคลื่อนล้อได้มาจากแรงปั่นด้วยเท้าบนบันไดทั้งสองของรถจักรยาน  เหมือนกับในรถสามล้อถีบปัจจุบัน  ในช่วงต่อมาได้มีการใช้ล้อทำด้วยยาง    และในราวปี พ.ศ. 2423-2433  ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางล้อหน้าได้ขยายใหญ่ขึ้นถึง 60  นิ้ว  ซึ่งทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ได้เป็นระยะทางถึง 16  ฟุต จากการปั่นบันไดรถจักรยานหมุน 1 รอบ  อันมีผลให้มันสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง  ทั้งในแนวราบและวิ่งลงเขาแต่สำหรับการขี่ขึ้นทางชันนั้นจะต้องออกแรงเป็น อย่างมาก นอกจากนั้นการที่จุดศูนย์ถ่วงของตัวจักรยานอยู่สูงทำให้มันมีแนวโน้มที่จะ พลิกคว่ำหรือเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย  ดังนั้น  ในราวปี พ.ศ. 2428  จึงได้มีการผลิตจักรยานรุ่นใหม่ที่มีรูปลักษณะเหมือนจักรยานสมัยใหม่ใน ปัจจุบัน  คือ ล้อทั้งสองมีขนาดเท่ากัน  และมีเฟืองที่บันไดรถ  เพื่อถ่ายทอดกำลังผ่านโซ่ไปยังล้อหลัง  ทำให้เกิดลักษณะการขับขี่มั่นคงกว่าเดิม  และยังให้อัตราทดกำลังด้วยการเลือกใช้เฟืองทดกำลังที่เหมาะสมสำหรับขับขี่ โดยเฉพาะด้วยความเร็วต่ำแต่เบาแรงกว่าในขณะปั่นขึ้นเขาหรือทางชัน
จักรยาน BMX เกิด ขึ้นประมาณยุค 70 ใน ทางตอนใต้ของคาลิฟอร์เนีย โดยกลุ่มเด็กกลุ่มหนึ่งได้ปรับแต่งจักรยานขนาดล้อ 20 นิ้ว ซึ่งพวกเขาได้แรงบรรดาลใจจากการชมภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการแข่งขัน จักรยานยนต์  Motocass  แล้วทำให้เป็นที่นิยมกันมากในตอนนั้น การแข่งขันจักรยานวิบากแบบ BMX (Bicycle Moto Cross)  ที่ มีวงล้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 นิ้ว ในประเภทความเร็ว(Racing) ได้เป็นที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้แพร่ขยายไปทั่วโลกในเวลาอัน รวดเร็ว หลังจากนั้นไม่นานนักขี่หลายๆคนได้ฝึกท่าทางพลิกแพลงผาดโผนในแบบ ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน และใช้โชว์ออฟกันในกลุ่มเพื่อนๆ ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะในการควบคุมรถได้อย่างดี และเมื่อมีโอกาส ก็มักจะได้นำท่านั้นมาออกโชว์กันในช่วงพักของการแข่งขัน หรือในการโปรโมท์ ให้กับสปอนเซอร์ของตน ซึ่งจะเรียกความสนใจจากผู้คนได้ดีทีเดียว ต่อมาเมื่อมีท่าทางหลากหลายมากขึ้น  นักขี่หล่าวนั้นได้หันมาเน้นฝึกแต่ท่า พลิกแพลง(Tricks)  อย่างจริงจัง จน กระทั่งได้กลายเป็นกีฬาประเภทใหม่ที่เน้นฝึกเฉพาะแต่ท่าผาดโผนอย่างเดียว  และได้พัฒนาท่าพลิกแพลงเหล่านี้ให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ น่าสนใจคือ ในยุคนั้นท่ายังไม่มีมากนัก จึงมีการคิดค้นลีลาต่างๆ ออกมาใหม่ ตลอดเวลา นักขี่แต่ละคนจะมีท่าเป็นของตนเอง ไม่ค่อยจะซ้ำกันนัก นักขี่กลุ่มนี้จึงถูกขนานนามว่า "Freestyler" และได้เริ่มมี การจัดการแข่งขันเฉพาะทางขึ้น นักขี่ที่มีชื่อที่สุด
คนหนึ่งในช่วงนั้น คือ Bob Haro ซึ่งถือได้ว่าเป็น "Father of Freestyle" (ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัทจักรยานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดบริษัทหนึ่ง)
ใน ราวปี 1985 เป็นต้นมา ทางบริษัทผู้ผลิตจักรยานหลายๆราย ได้มีการผลิตอะไหล่ ที่ทำไว้สำหรับการเล่นท่า Freestyle ได้แก่ตัวถังที่มีที่ยืนตรงหลักอาน, ที่ยืนตรงแฮนด์, ที่ยืนตรงแกนล้อ และตะเกียบฯลฯ  การจัดแข่งขันเริ่มมีมากขึ้นมีการรวมตัวนักขี่ผาดโผน จัดตั้งเป็นทีม Freestyle  อย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงนี้เอง ที่สมาคม AFA(American Freestyle Association) ได้เข้ามาผูกขาดในการจัดแข่งขันครั้งใหญ่ๆ นักขี่เอือมกับกติกาหยุมหยิม เช่น Flatland ก็ให้ใส่หมวกกันน๊อก และกรรมการเป็นคนธรรมดาไม่รู้จักการให้คะแนน โดยเฉพาะท่ายากๆหรือท่าใหม่ๆ  แบนนักขี่ที่ไปแข่งงานอื่น  จัดแบ่งรุ่น(Class)ละเอียดยิบ ซึ่งนอกจากจะแบ่งตามรุ่นอายุ ยังมีรุ่นสมัครเล่น ( Amateur ) และรุ่นมืออาชีพ ( Pro ) ซึ่งนักขี่จะลงได้หลายรุ่น ปัญหาจึงอยู่ที่คนที่มีฝีมือดียังไม่ยอม Turn Pro ง่ายๆเพราะยังหวงตำแหน่งอยู่ต่อมาในยุค 90  AFA ยกเลิกการจัดแข่ง ทำให้วงการเงียบเหงาไปพักหนึ่ง แต่ก็ได้ Mat Hoffman ซึ่งเป็นนักขี่ ได้ริเริ่ม จัดงานแข่งขึ้นเองชื่อ Bike Stunt Series หรือ BS ซึ่งเป็นการปลุกผีวงการขึ้นมาอีกครั้ง และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนกระทั่ง ESPN ช่องกีฬายักษ์ใหญ่ได้มาติดต่อขอซื้อรายการต่อ  จัดให้มีการนำภาพจากการแข่งไปออกอากาศทั่วโลก และต่อมาได้รวบรวมกีฬาสุดขั้วหรือ Extreme Sports เข้าไว้ด้วยกันภายใต้ชื่อ “X-GAMES”

การรวมตัวนักขี่ผาดโผน

กว่าจะมาเป็น BMX
BMX (Bicycle Motocross) ได้ถือกำเนิดมาจากฝั่งประเทศตะวันตก ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จากกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่อยากจะขี่จักรยานได้เหมือนกับจักรยานยนต์วิบาก (Motocross)โดยได้มีการนำจักรยาน ประเภท Stingray มาขี่ในสนามทำขึ้นเหมือนกับสภาพสนามการแข่งขันจักรยานยนต์วิบาก (Motocross) โดยในยุคเริ่มต้นของจักรยาน BMX นั้นมีการปรับปรุงสมรรถนะของจักรยานโดยมีการนำระบบกันสะเทือน (Shock-Up) มาใช้กับตัวโครงรถและตะเกียบด้านหน้า แต่เนื่องจากน้ำหนักที่มากบวกกับราคาที่ค่อนข้างสูง และเพื่อให้ได้มีการใช้งานอย่างคล่องตัวและเด็กๆสามารถจะเป็นเจ้าของรถอย่าง ไม่ยากเย็น ผู้ผลิตจักรยานในยุคนั้นจึงได้มีการปรุงและลดชิ้นส่วนต่างๆที่ไม่จำเป็นออก ไป รูปแบบของจักรยาน BMX ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจึงได้กำเนิด ณ จุดนี้เอง

BMX ในประเทศไทย
จากอิทธิพลดังกล่าว ความนิยมของรถจักรยานประเภทวิบาก (Bicycle Motocross) ได้รับความนิยมและมีการแพร่หลายไปยังทั่วทุกมุมรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในช่วง พ.ศ. 2518 นี้เองก็เป็นช่วงหนึ่งของหน้าประวัติรถจักรยานประเภทวิบากที่เรียกกันว่า Bicycle Motocross ช่วงนี้เองเป็นช่วงที่เด็กไทยมีความใฝ่ฝันอยากจะได้รถในฝันของตัวเองที่ สามารถขี่ได้เหมือนกันกับสื่อที่ได้เห็นตามหน้าหนังสือรวมทั้งภาพยนตร์ ยุคนี้เองไม่มีใครที่จะปฎิเสธที่จะไม่รู้จักรถจักรยานที่มีโช๊คอัพอยู่ตรง กลางนาม “Merida Mono-Shock” จะเห็นได้จากทุกๆสนามการแข่งขันนั้นล้วนแล้วแต่จะมีรถยี่ห้อปรากฏอยู่ทุกๆ สนามไป
ในยุคของการแข่งขันแรกๆนั้น (พ.ศ. 2519-2524) จักรยานประเภทวิบากนี้ยังต้องอาศัยสนามแข่งขันเดียวกับรถจักรยานยนต์วิบาก มีการสลับขั้นรายการระหว่างการแข่งทั้ง 2 ประเภทนี้ และช่วงระหว่างปีนี้เองนักแข่งหลายๆคนเริ่มที่จะมีการใช้จักรยาน BMX เข้าร่วมการแข่งขันเนื่องจากน้ำหนักที่เบากว่ารถประเภทโมโนโช๊คหลายตัว ใช้งานคล่องตัว เริ่มมีปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากยี่ห้อ โอลด์อีเกิ้ล ไปจนถึง ปรีดา BMX ไปจนหลากหลายยี่ห้อที่ผู้ผลิตจักรยานในประเทศไทยได้พัฒนาและผลิตขึ้นเพื่อ ตอบสนองความต้องการอันล้นหลาม ปีพ.ศ 2524-2526 ปีนี้เองนับเป็นปีทองที่รุ่งเรืองของจักรยาน BMX เนื่องจากความเสื่อมถอยความนิยมของรถโมโนโช๊คที่มีน้ำหนักมากบวกกับราคาของ จักรยาน BMX ที่ถูกขึ้นเรื่อยๆนั้นส่งผลให้รถโมโนโช๊คได้หายตายไปกับสนามการแข่งขัน จักรยานประเภทวิบาก ภาพที่เห็นในช่วงนั้นจะมีแต่จักรยาน BMX เท่านั้นเอง อะไหล่ดีๆจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น และ อเมริกาก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยโดยร้าน, ห้างหุ้นส่วนต่างๆ ต่างก็ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจเนื่องจากผลพวงความนิยมของจักรยาน BMX นี้เอง
ยุคนี้มีการจัดแข่งกันทั่วสารทิศ นักแข่งฝีมือดีๆเริ่มปรากฏ รวมทั้งทีมแข่งจากหลากหลายสังกัดที่เริ่มเฟ้นหานักแข่งฝีมือเข้าประจำสังกัด ของตนเอง ส่วนรายการการแข่งขันจักรยานยนต์วิบากนั้นไม่มีงานไหนที่จะไม่มี BMX ปรากฏ

BMX (Bicycle Moto Cross)

ยุคสลายของวงการ BMX ในประเทศไทย
แฟชั่นและอารยะธรรมทางเทคโนโลยีที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยที่มีผลให้เด็ก ไทยในสมัยนั้น เริ่มเปลี่ยนแปลงความสนใจการที่เคยมีแต่จักรยาน BMX อย่างเดียวเปลี่ยนมาเป็นจักรยานประเภทเล่นท่า (Freestyle BMX), เกมส์กด, ตู้เกมส์ , โรลเลอร์สเก็ต ฯลฯ รวมทั้งน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.2526 ที่ทำให้จักรยานดีๆหลายคันได้จมหายไปและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับผู้จัดการแข่ง ขันหลายรายทำให้ความนิยมรถจักรยาน BMX เสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็วจนหมดไปจนเหลือแต่ภาพทรงจำที่รุ่งเรืองในอดีต
OLD SCHOOL BMX Thailand
กลุ่ม OLD SCHOOL BMX Thailand ได้ก่อกำเนิดขึ้นจากกลุ่มคนในวัยที่เคยลิ้มและได้สัมผัสกับความรุ่งเรืองใน อดีตของจักรยาน BMX และได้เล็งถึงคุณค่าของจักรยาน BMX รุ่นเก่าหลังจากที่หายไปจากท้องถนนร่วมระยะเวลากว่า25ปี จึงรวมตัวกันขึ้นโดยจุดประสงค์หลักที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสได้เห็น และสัมผัสสิ่งที่เคยรุ่งเรืองของจักรยาน BMX โดยจัดนำเสนอรถจักรยาน BMX ที่ได้เคยรับความนิยมในอดีตที่ยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ดีและได้รับการบูรณะ ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งสามารถหาดูได้ยากมากๆ ณ ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนรุ่นใหม่ๆที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อนรวมทั้งผู้สนใจ ทั่วไปทั้งที่เคยและไม่เคยสัมผัสรถจักรยานประเภทนี้มาก่อน

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


ประวัติความเป็นมาของจักรยาน BMX ทำความรู้จักถึงความเป็นมา ต้นกำเนิด

จักรยานสองล้อรุ่นแรก ๆ ที่เป็นต้นแบบของจักรยานสองล้อในปัจจุบันมีกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อราวปี พ.ศ. 2343ในปี พ.ศ. 2408  ได้มีการผลิตจักรยาน 2 ล้อ รุ่นหนึ่งซึ่งมีตัวล้อเป็นเหล็ก  และมีขอบล้อทำด้วยไม้  กำลังเคลื่อนล้อได้มาจากแรงปั่นด้วยเท้าบนบันไดทั้งสองของรถจักรยาน  เหมือนกับในรถสามล้อถีบปัจจุบัน  ในช่วงต่อมาได้มีการใช้ล้อทำด้วยยาง    และในราวปี พ.ศ. 2423-2433  ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางล้อหน้าได้ขยายใหญ่ขึ้นถึง 60  นิ้ว  ซึ่งทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ได้เป็นระยะทางถึง 16  ฟุต จากการปั่นบันไดรถจักรยานหมุน 1 รอบ  อันมีผลให้มันสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง  ทั้งในแนวราบและวิ่งลงเขาแต่สำหรับการขี่ขึ้นทางชันนั้นจะต้องออกแรงเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการที่จุดศูนย์ถ่วงของตัวจักรยานอยู่สูงทำให้มันมีแนวโน้มที่จะพลิกคว่ำหรือเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย  ดังนั้น  ในราวปี พ.ศ. 2428  จึงได้มีการผลิตจักรยานรุ่นใหม่ที่มีรูปลักษณะเหมือนจักรยานสมัยใหม่ในปัจจุบัน  คือ ล้อทั้งสองมีขนาดเท่ากัน  และมีเฟืองที่บันไดรถ  เพื่อถ่ายทอดกำลังผ่านโซ่ไปยังล้อหลัง  ทำให้เกิดลักษณะการขับขี่มั่นคงกว่าเดิม  และยังให้อัตราทดกำลังด้วยการเลือกใช้เฟืองทดกำลังที่เหมาะสมสำหรับขับขี่โดยเฉพาะด้วยความเร็วต่ำแต่เบาแรงกว่าในขณะปั่นขึ้นเขาหรือทางชัน

จักรยานBMXเกิดขึ้นประมาณยุค 70  ในทางตอนใต้ของคาลิฟอร์เนีย โดยกลุ่มเด็กกลุ่มหนึ่งได้ปรับแต่งจักรยานขนาดล้อ 20นิ้ว ซึ่งพวกเขาได้แรงบรรดาลใจจากการชมภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการแข่งขันจักรยานยนต์  Motocass  แล้วทำให้เป็นที่นิยมกันมากในตอนนั้น    การแข่งขันจักรยานวิบากแบบ BMX (Bicycle Moto Cross)    ที่มีวงล้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 นิ้ว ในประเภทความเร็ว(Racing) ได้เป็นที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้แพร่ขยายไปทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว   หลังจากนั้นไม่นานนักขี่หลายๆคนได้ฝึกท่าทางพลิกแพลงผาดโผนในแบบต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน และใช้โชว์ออฟกันในกลุ่มเพื่อนๆ ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะในการควบคุมรถได้อย่างดี และเมื่อมีโอกาส ก็มักจะได้นำท่านั้นมาออกโชว์กันในช่วงพักของการแข่งขัน หรือในการโปรโมท์ ให้กับสปอนเซอร์ของตน ซึ่งจะเรียกความสนใจจากผู้คนได้ดีทีเดียว ต่อมาเมื่อมีท่าทางหลากหลายมากขึ้น   นักขี่หล่าวนั้นได้หันมาเน้นฝึกแต่ท่าพลิกแพลง(Tricks)  อย่างจริงจัง
จนกระทั่งได้กลายเป็นกีฬาประเภทใหม่ที่เน้นฝึกเฉพาะแต่ท่าผาดโผนอย่างเดียว  และได้พัฒนาท่าพลิกแพลงเหล่านี้ให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจคือ ในยุคนั้นท่ายังไม่มีมากนัก จึงมีการคิดค้นลีลาต่างๆ ออกมาใหม่ ตลอดเวลา นักขี่แต่ละคนจะมีท่าเป็นของตนเอง ไม่ค่อยจะซ้ำกันนัก นักขี่กลุ่มนี้จึงถูกขนานนามว่า "Freestyler" และได้เริ่มมี การจัดการแข่งขันเฉพาะทางขึ้น นักขี่ที่มีชื่อที่สุด
คนหนึ่งในช่วงนั้น คือ Bob Haro ซึ่งถือได้ว่าเป็น "Father of Freestyle"
(ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัทจักรยานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดบริษัทหนึ่ง)

ในราวปี 1985 เป็นต้นมา ทางบริษัทผู้ผลิตจักรยานหลายๆราย ได้มีการผลิตอะไหล่ ที่ทำไว้สำหรับการเล่นท่า Freestyle ได้แก่ตัวถังที่มีที่ยืนตรงหลักอาน, ที่ยืนตรงแฮนด์, ที่ยืนตรงแกนล้อ และตะเกียบฯลฯ  การจัดแข่งขันเริ่มมีมากขึ้นมีการรวมตัวนักขี่ผาดโผน จัดตั้งเป็นทีม Freestyle  อย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงนี้เอง ที่สมาคม AFA(American Freestyle Association) ได้เข้ามาผูกขาดในการจัดแข่งขันครั้งใหญ่ๆ นักขี่เอือมกับกติกาหยุมหยิม เช่น Flatland ก็ให้ใส่หมวกกันน๊อก และกรรมการเป็นคนธรรมดาไม่รู้จักการให้คะแนน โดยเฉพาะท่ายากๆหรือท่าใหม่ๆ  แบนนักขี่ที่ไปแข่งงานอื่น  จัดแบ่งรุ่น(Class)ละเอียดยิบ ซึ่งนอกจากจะแบ่งตามรุ่นอายุ ยังมีรุ่นสมัครเล่น(Amateur) และรุ่นมืออาชีพ(Pro) ซึ่งนักขี่จะลงได้หลายรุ่น ปัญหาจึงอยู่ที่คนที่มีฝีมือดียังไม่ยอม Turn Pro ง่ายๆเพราะยังหวงตำแหน่งอยู่ต่อมาในยุค 90  AFA ยกเลิกการจัดแข่ง ทำให้วงการเงียบเหงาไปพักหนึ่ง แต่ก็ได้ Mat Hoffman ซึ่งเป็นนักขี่ ได้ริเริ่ม จัดงานแข่งขึ้นเองชื่อ Bike Stunt Series หรือ BS ซึ่งเป็นการปลุกผีวงการขึ้นมาอีกครั้ง และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนกระทั่ง ESPN ช่องกีฬายักษ์ใหญ่ได้มาติดต่อขอซื้อรายการต่อ  จัดให้มีการนำภาพจากการแข่งไปออกอากาศทั่วโลก และต่อมาได้รวบรวมกีฬาสุดขั้วหรือ Extreme Sports เข้าไว้ด้วยกันภายใต้ชื่อ “X-GAMES”